4.1 บทบาทของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การติดต่อสื่อสารเป็นการพูดคุยหรือส่งข่าวสารกันของมนุษย์ ซึ่งอาจเป็นการแสดงออกด้วยท่าทาง การใช้ภาษาพูดหรือผ่านทางตัวอักษร โดยส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารในระยะใกล้ ต่อมาเมื่อเทคโนโ,ยีก้าวหน้าขึ้นมีการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับใช้ในการสื่อสาร ทำให้สามารถสื่อสารได้ในระยะไกลและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น เช่น โทรเลข โทรศัพท์ และโทรสาร
สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบเครือข่าย (network system) มีการพัฒนาให้ดีขึ้นเป็นลำดับ จากในอดีตการใช้งานคอมพิวเตอร์จะเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น เมนเฟรม การใช้งานจะมีการเชื่อมต่อไปยังเครื่องปลายทางหรือเทอร์มินัล(terminal)หลายเครื่อง ซึ่งถือได้ว่าเป็นการติดต่อสื่อสารระว่างคอมพิวเตอร์กับเทอร์มินัลในยุคแรก
รูปที่ 4.1 เมนเฟรมและเทอร์มินัล
ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์หรือพีซี ซึ่งมีขีดความสามารถในด้านความเร็วการทำงานสุงขึ้น และมีราคาต่ำลงมากเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ทำให้การใช้งานแพร่หลายมากยิ่งขึ้น และมีความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเข้าด้วยกัน และได้มีการกำหนดมาตรฐานกลางที่ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่มาจากผู้ผลิตต่างกัน ให้สามารถติดต่อถึงกันได้ เกิดการใช้งานระบบเครือข่ายที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน เช่น การโอนย้ายข้อมุลระหว่างกัน หรือการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการใช้งานเพิ่มขึ้น
ลักษณะของเครือข่ายจึงเริ่มจากจุดเล็กๆ เช่น ระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนแผงวงจรเดียวกัน ไปจนถึงระบบที่ ทำงานร่วมกันในห้องทำงาน ในอาคาร ระหว่างอาคาร ระหว่างสถาบัน ระหว่างเมือง ระหว่างประเทศ
รูปที่ 4.2 .ลักษณะเครือข่ายที่กระจายไปทั่วโลก
ปัจจุบันการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในการคำนวณและเก็บข้อมูล รวมถึงการสื่อสารข้อมูลการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบสำนักงานที่เรียกว่า ระบบสำนักงานอัตโนมัติ(office automation) ระบบดังกล่าวนี้มักเรียกย่อกันสั้นๆ ว่า โอเอ(OA) เป็นระบบที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ประยุกตืและระบบเครือข่าย มาช่วยในการทำงานที่เกี่ยวกับเอกสาร การโอนย้ายแลกเปลี่ยนไฟล์ การควบคุมเอกสารและส่งเอกสารไปยังหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง และการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ผุ้ใช้งานอาจอยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือยุ่คนละเมืองก็ได้ การส่งข้อมุลข่าวสารเช่นนี้ต้องอาศัยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายประเภทที่สามารถเชื่อมต่อและทำงานร่วมกัน โดยผ่านสื่อกลางในการส่งผ่านข้อมูล
นอกจากนี้ยังมีการกระจายฐานข้อมูลความรู้ต่างๆไว้ผ่านระบบเครือข่าย เช่น ฐานข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ฐานข้อมูลงานวิจัย ฐานข้อมูลทางเศรษฐกิจ ฐานข้อมูลของสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค ในมหาวิทยาลัยอาจมีข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือและตำราวิชาการ หากผู้ใช้ต้องการข้อมูลใดก็สามารถติดต่อมายังศูนย์บริการข้อมูลนั้น การติดต่อจะผ่านเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ทำให้การได้รับข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว
รูปที่ 4.3 ตัวอย่างฐานข้อมูลความรู้ผ่านระบบเครือข่าย
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้
1. สะดวกในการแบ่งปันข้อมูล
ปัจจุบันมีข้อมูลจำนวนมากสามารถถูกส่งผ่านเครือข่ายการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว เช่น การส่งข้อมุลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ระบบดีเอสแอล (Digital Subscriber Line :DSL) ถ้าส่งด้วยอัตราเร็ว 2 Mbps หรือประมาณ 256 kb/s จะส่งข้อมูลจำนวน 200 หน้าได้ในเวลาน้อยกว่า 10 วินาที
2. ความถูกต้องของข้อมูล
การรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายการสื่อสารเป็นการส่งแบบดิจิทัล ซึ่งระบบการสื่อสารจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของขั้อมูลที่ส่งและแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้โดยอัตโนมัติ ดังนั้นการสื่อสารข้อมุลจึงมีความเชื่อถือได้สูง
3. ความเร็วในการรับส่งข้อมูล
การใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูลหรือค้นหาข้อมุลจกาฐานข้อมุลขนาดใหญ่ทำได้อย่างรวดเร็ว เนื่องสัญญาณทางไฟฟ้าเดินทางด้วยความเร็วใกล้เคียงความเร็วแสง เช่น การดูภาพยนตร์ หรือรายการโทรทัศน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต การตรวจสอบหรือการจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
4. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารข้อมูล
การรับและส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารสามารถทำได้ในราคาถูกกว่าการสื่อสารแบบอื่น เช่น การใช้งานโทรศัพท์โดยผ่านอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า วอยซ์โอเวอร์ไอพี (Vioce over IP :VoIP) จะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยผ่านระบบโทรศัพท์พื้นฐาน หรือการใช้อีเมล์ส่งข้อมูลหรือเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์จะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าและรวดเร็วกว่าการส่งเอกสาร
5.สะดวกในการแบ่งปันทรัพยากร ในองค์กรณ์สามารถใช้อุปกรณ์สารสนเทศร่วมกันได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายติดตั้งอุปกรณืให้กับทุกเครื่อง เช่น เครื่องพิมพ์ นอกจากนี้ยังสามารถใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปแกรมและข้อมูลเหล่านั้นไว้ที่แหล่งเก็บข้อมูลที่เป็นศูนย์กลาง เช่น เครื่องบริการไฟล์ (file server) เป็นต้น
6.ความสะดวกในการประสานงาน ในองค์กรที่มีหน่วยงานย่อยหลายแห่งที่อยู่ห่างไกลกันสามารถทำงานประสานกันผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การประชุมทางไกล และการแก้ไขเอกสารร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย
7.ขยายบริการขององค์กร เครือข่ายคอมพิเตอร์ทำให้องค์กรสามารถกระจ่ายที่ทำการไปยังจุดต่างๆที่ต้องการให้บริการ เช่น ธนาคารมีสาขาทั่วประเทศ สามารถถอนเงินได้จากตู้เอทีเอ็มหรือฝากเงินผ่านตู้ฝากเงินสด
8.การสร้างบริการรูปแบบใหม่บนเครือข่าย การให้บริการต่างๆผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริการได้ทุกที่ทุกเวลา เช่น การซื้อสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์ ซึ่งเป็นบริการแบบหนึ่งของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e – commerce) และการรับชำระค่าสินค้า ค่าสาธารณูปโภคผ่านจุดรับชำระแบบออนไลน์ ที่เรีกยว่าเคาน์เตอร์เซอร์วิส (counter service)
รูปท 4.4..องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล